หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รถที่คุณใช้อยู่ปลอดภัยแค่ไหน?1.

    รถยี่ห้อใด ปลอดภัยมากกว่ากัน ?

   ญาติผู้ใหญ่ของผมท่านหนึ่ง เคยใช้รถยนต์ยุคปี 80-90 มาก่อน และก็บำรุงรักษารถเป็นอย่างดีทีเดียว ท่านเลือกใช้ มาสด้า 323 ครับ ท่านซื้อมาราวๆปี 80 หรือ ประมาณนี้แหละครับ และเหตุผลของการเลือกก็คือ

   ท่านบอกว่าเหล็กตัวถังมันหนาดี ปลอดภัย เคาะแล้วแน่น ยี่ห้ออื่นเคาะแล้วดูมันโปร่งๆ ยังไงไม่รู้ เหล็กมันไม่หนา ท่านว่าอย่างนั้น ท่านเน้นเรื่องความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก



     ท่านคิดว่ามันน่าจะปลอดภัยกว่ายี่ห้ออื่นเวลาชน นั่นคือเหตุการณ์เมื่อก่อน แต่ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลานี้ที่พึ่งซื้อรถใหม่ ท่านก็ยังต้องเดินเคาะๆ รถรอบๆคันอยู่ ตั้งแต่หัวจรดท้ายทีเดียว

    นี่คือตัวอย่างจากความเชื่อ ชึ่งเป็นเหมือนกันทุกคน เวลาคนเราไม่เชี่ยวชาญหรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหรือสินค้าตัวนั้น สิ่งแรกที่เราใช้อ้างอิงอันดับแรก อาจเป็น สิ่งที่เขาบอกเล่ากันมา หรือ เขาบอกว่า

    ต่อมาก็อาจเป็นข้อมูลที่เราหาเองจากอินเตอร์เนท ซึ่งมั่วบ้างจริงบ้าง และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้อมูลที่คนขายให้เรามาอีกทีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ความเชื่อที่มีรากฐานจาก First Impression นั้นสำคัญทีเดียว เพราะเหมือนมันจะถูก Installed อย่างอัตโนมัติ ลงในจิตใต้สำนึกไปแล้ว

    นักการตลาดก็เลยใช้ความเชื่อ ที่ได้ทำการวิจัยออกมา แล้ว ส่งให้ฝ่ายผลิตปรับแก้ผลิตภัณฑ์ตามความเชื่อของลูกค้า โดยมี CEO ให้ท้าย ทำให้ฝ่ายวิศวกรรมไม่กล้าหือ โดยไม่ต้องพยายามไปเปลี่ยนความเชื่อของผู้บริโภคเลยให้เสียเวลาเลย ดูเรื่องผงซักฟอกฟองเยอะในยุคนั้นซิ ถ้าไม่มีฟองเลยใครเล่าจะซื้อ

    อีกเรื่องหนึ่งที่อยากเล่าให้ฟังเล่นๆ ก็คือ เรื่องรถเก๋งญี่ปุ่นยี่ห้อหนึ่ง นักการตลาดเก่งมากๆ เขารู้ว่า Target group เขาคือใคร ต้องการอะไร และมีความเชื่ออย่างไร เขาก็ผลิตรถมาให้ลูกค้าเขาตามนั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงเกณฑ์มาตรฐานที่เคยๆทำกันมา หรือ ความคิดเห็นของนักทดสอบ หรือ ค่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นสักท่าไหร่นัก

    ตัวอย่างเช่น รถ Civic นั้นน่ะTarget group ดูเหมือนจะเป็น กลุ่มคนหนุ่มสาว มีรสนิยมในการใช้ชีวิต โฉมเฉี่ยวและสมัยนิยม และTarget อีก Group หนึ่งที่ใหญ่ไม่แพ้กลุ่มอื่น คือ กลุ่มผู้หญิง ภาพลักษณ์ทันสมัย อินเทรนด์ ผู้หญิงหลายคนที่ขับ Civic นั้นจะชอบ เรื่อง รูปลักษณ์ และอารมณ์การขับขี่ เช่น พวงมาลัยตอบสนองดี ฉับไว รถดูเหมือนเบา อุปกรณ์ทุกอย่างไม่หนักมือ เร่งแซงปรูดปร๊าดทันใจ ส่วนใหญ่เสียงตอบรับจะออกมาเป็นอย่างนี้



      ในเมื่อลูกค้าชอบแบบนี้ ก็สร้างมันแบบนี้ต่อไปรุ่นแล้วรุ่นเล่าซะเลย ใส่ใจไปใยกับมาตรฐานของวงการ ซึ่งหากจะตามความเห็นส่วนตัวของผมนั้น พวงมาลัย มันไวเกินไปและสัมผัสไม่ดีนัก

      (ด้วยความเร็ว บางยี่ห้อ สมมุติขับหลับตาหรือเผลอมองข้างทางซัก2-3 วิ เวลาวิ่งเร็วๆ และมีลมประทะด้านข้าง เมื่อหันกลับมา อาจพบว่ารถเริ่มเบนนิดๆ บางยี่ห้อแค่เคลื่อนข้อมือนิดๆ เราก็รู้ตัวได้โดยแม้จะปิดตาหรือไม่ได้มองถนนในวินาทีนั้น )

   มันต้องมีเกณฑ์เปรียบเทียบซิ ใช่ครับ มันไวกว่ามาสด้า แลนเซอร์ และ อัลติสด้วย แต่ผู้ผลิตอาจบอกว่าพวงมาลัยเขาฉับไวแม่นยำไม่ได้ไวซักหน่อย

   หากขับทาง ไฮเวย์ ด้วยความเร็วสูง ผมว่ามันน่ากลัวไปนิดแม้ว่าจะเซทน้ำหนักให้ดูหนักก็ตาม ก็อย่างว่าเขาก็ต้องออกแบบตามที่ลูกค้าเขาต้องการไม่ใช่ออกแบบตามความคิดเห็นนักทดสอบ


     แล้วเรื่อง เหยียบแล้วเร่งปรู๊ดปร๊าดน่ะ คนเลยรู้สึกว่าเครื่องสุดยอดแถมยังฝังหัวจากโฆษณาเรื่อง V-Tech อีก ที่จริงมันก็เยี่ยมจริงๆนั่นแหละ แต่ที่ทำให้เร่งปรู๊ดปร๊าดก็คือ การปรับระยะแต่งคันเร่งให้สัมพันธ์กับสมองกลดีๆ ให้เหยียบนิดเดียว หัวฉีดทำงานแบบ โหมดสปอร์ตเลย เช่นเหยียบคันเร่งลึกหนึ่งเซนติเมตรเท่ากับยี่ห้ออื่น แต่พุ่งกว่าชาวบ้านเขา หรือเซทอัตราทดเกียร์หนึ่งให้ทดรอบกว่าชาวบ้านเขา ก็เลยรู้สึกเหมือนรถมันแรก เครื่องมันดี อะไรทำนองนี้

    แต่โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่เพราะตัวเองเป็นคนเท้าหนัก เวลาขับแล้วมักจะมีคอมเมนต์จากคนนั่งว่า นั่งไม่สบายขับไม่สมูท ที่จริงหากมาวัดอัตราเร่งจาก 0-100 Km/hr กันจริงๆ ตัวเลขอาจไม่ได้หนีกันจากคู่แข่งซักเท่าไหร่ แต่ความรู้สึกที่รู้สึกว่ามันพุ่งกว่า ลูกค้าก็ติดภาพลักษณ์เรื่องเครื่องดี เหยียบพุ่งไปแล้ว ที่เล่ามาไม่ได้โจมตีอะไรนะครับ เพราะที่บ้านก็ใช้อยู่คันนึง....

    แค่เล่าให้ฟังเท่านั้น เป็นเรื่องความเชื่อของผู้บริโภคกับนักการตลาด เล่ามาซะนาน ยังไม่เห็นเกี่ยวกับเรื่อง เหล็กหนา เหล็กบาง กับความปลอดภัยเมื่อเกิดการชนตรงไหนเลย อันที่จริงแล้ว ผมชอบไปเที่ยวทะเล ก็เลยพาคนอ่านออกทะเลไปบ้างนิดหน่อย

     แต่ยังไงก็ตามมันก็เกี่ยวข้องกันอยู่บ้างนะครับ กับเรื่องความเชื่อที่เกี่ยวกับความปลอดภัย แต่ตอน 2 รับรอง คุณจะเข้าใจเรื่องเหล็กหุ้มรถยนต์ได้ดีขึ้นทีเดียว




----------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น