หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2561

เปลี่ยนยางแค่2เส้นได้ไหม?

      เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนยางแค่2เส้นควรจะเปลี่ยนอย่างไร?





      เดี๋ยวนี้ฝนตกไม่เลือกฤดูนะ ถ้ายางของคุณใช้มาจนเริ่มสึกแล้วหรือใช้มาก็2-3ปีได้แล้ว คุณควรจะเปลี่ยนยางได้แล้วครับเพื่อความปลอดภัยของคุณเอง และคุณควรจะเปลี่ยนยางให้หมดทั้ง 4 เส้นเลย แต่บางครั้งคุณอาจเปลี่ยนได้เพียง 2 เส้นเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องการเงินของช่วงเวลานั้น (ยางสมัยนี้ไม่ใช่ถูกๆ ยิ่งถ้ารถคุณล้อขอบ 17” หรือมากกว่า เปลี่ยนครบ4ล้อ ขนหน้าแข้งร่วงเกือบหมด)

      แล้วจะเปลี่ยนข้างหน้าหรือข้างหลังดีล่ะ เรามีคำตอบให้คุณครับ แต่ที่แน่นอนที่สุดคือไม่ควรเปลี่ยนยางหน้าเส้นหนึ่งหลังเส้นหนึ่ง ยกเว้นคุณอยากไปเยี่ยมท่านยมบาลไวๆ......เอาละครับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากและทำให้ผู้คนสับสนไม่น้อย โดยเฉพาะช่างหรือ จุกกรู เอ้ย กูรูข้างบ้าน

      ส่วนใหญ่แล้วบริษัทผลิตยางบางแห่งมักจะแนะนำให้ลูกค้าเปลี่ยนล้อหลังมากกว่า เมื่อมองในแง่ความปลอดภัยและ คิดในพื้นฐานที่ว่าผู้คนส่วนใหญ่ ใช้รถเก๋งขับหน้า (หรือแม้แต่ขับหลังก็เหมือนกัน) เป็นรถครอบครัว การแนะนำเช่นนี้ผมคิดว่าถูกต้องครับ 

      เพราะควรจะให้ยางที่เกาะถนนมากกว่าอยู่ข้างหลัง เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดเบรกแรงเกินไปในขณะโค้ง ล้อหลังจะได้ไม่ล็อค เพราะถ้าล็อคขณะโค้งก็เป็นเรื่องเลยครับ เพราะรถบางรุ่นถึงแม้สามารถปรับแรงดันน้ำมันเบรกที่ล้อหลังอัตโนมัติ  แต่ใช้ไปนานๆมันก็ปรับได้ไม่เท่ากันทั้ง 2 ล้อหรอกครับ แล้วลองจินตนาการดูอีกกรณีหนึ่ง ถ้าคุณขับทางตรงด้วยความเร็วสูงแล้วคุณเหยียบเบรกกระทันหัน

       รถคุณก็ไม่ได้ใหม่เอี่ยมอะไร รถทั่วไปจะเซทให้เบรคหลังทำงานน้อยกว่าข้างหน้าอยู่แล้ว แต่เมื่อยางมันไม่ค่อยมีดอกแล้วและยางแข็งมากด้วย ถนนก็ยังลื่นอีก ถึงแม้เบรกหลังจะทำงานแค่ 20-30 %  และถ้าเบรกหลังคุณก็จับไม่เท่ากันทั้งซ้ายขวา นั่นก็อาจเพียงพอแล้วที่ทำให้เบรกหลังล็อค (ABS อาจช่วยได้ไม่ทั้งหมดถ้าถนนลื่นและความเร็วสูงมาก)

      เหตุการณ์นี้จะทำให้รถหมุนปัดทีเดียว แต่ถ้ายางที่เปลี่ยนใส่ที่ล้อหลังมันจะเกาะถนนกว่า เหตุการณ์เช่นนี้ก็เกิดได้ยากกว่า บางท่านอาจจะแย้งว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ก็จริงครับ แต่เราพูดถึง รถเก๋ง ไม่ใช่เอาไปดริฟโชว์

      แต่ถ้ารถมี เอบีเอส และระบบปรับแรงดันน้ำมันเบรค รวมถึงผ้าเบรค ต่างๆ อยู่ในสภาพสมบูรณ์เหตุการณ์เช่นนี้ก็ไม่มีโอกาสน้อยเพราะรถดี แต่ก็ใช่ว่าจะชะล่าใจแล้วไม่เปลี่ยนยางนะครับ ถ้ามันสึกและหมดอายุแล้ว ควรจะเปลี่ยนนะครับ

   แต่มีอีกทฤษฏีหนึ่งที่  ช่างบ้านๆทั่วไปแนะนำ ก็คือ ควรจะเปลี่ยนล้อหน้า เนื่องจากล้อหน้านั้นต้องรับภาระทั้งขับเคลื่อน ทั้งเบรค ทั้งเลี้ยว และน้ำหนักเครื่อง ถึงแม้เป็นรถขับหลังภาระของยางหน้าก็มากกว่าอยู่ดี (ถ้าคุณขับเหมือนชาวบ้านนะไม่ใช่ออกตัวซะล้อฟรี)

     ในกรณีที่ไม่มีการสลับยางเลยหรือคุณสลับยางน้อยมาก ภายในเวลา 2 ปี ยางคู่หน้าอาจจะสึกจนอาจใช้การไม่ได้ดีโดยที่ยางหลังอาจยังพอใช้ได้อยู่อีก กรณีนี้คุณก็อาจเปลี่ยนยางที่คู่หน้าก็ได้ วิธีนี้ก็ถือว่าถูกนะครับ เพราะจริงๆแล้วขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์มากกว่า และอีกประการหนึ่งเมื่อคุณเปลี่ยนยางคู่หน้าเมื่อวิ่งด้วยความเร็ว คุณจะรู้สึกว่ามันนิ่มและนิ่งขึ้น แถมเมื่อเบรกกะทันหันระยะทางเบรกก็สั้นกว่าด้วยถ้าใช้ยางคู่หน้าใหม่ (ไม่ได้ขับด้วยความเร็วสูงนะ)

สรุปแล้ว ยังไงล่ะ?

     สภาพถนนต่างจังหวัด  โค้งเยอะ   ถนนลื่น ขับไว    ก็เปลี่ยน 2 เส้นหลัง  (สำหรับคนทั่วไป ท้ายปัดกระทันหันเมื่อเหยียบเบรค อันตรายทำให้ตกใจได้มากกว่าหน้าดื้อโค้ง) 

     ขับในเมืองมากกว่า  รถติดๆ  ไม่ชอบซิ่ง ไม่ชอบแข่ง  หรือขับแค่เมืองเล็กๆ ขับไม่เกิน 60  ก็เปลี่ยน 2 เส้นหน้า ก็ได้ครับ 

     แต่ถ้าตอบแบบครอบคลุมคำตอบเดียว ก็อยากให้เปลี่ยนหลังมากกว่า จนเมื่อมีปัจจัยพอเพียง  อย่างไรก็แนะนำให้เปลี่ยนทั้ง 4 ล้อ อย่างแน่นอน

     หวังว่าผู้อ่านทุกท่านควรพิจารณาด้วยเหตุและผลมากกว่าเชื่อตามกันมาจากปากใครก็ไม่รู้นะครับ และขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขในการขับขี่ช่างหน้าฝนนี้นะครับ สวัสดีครับ

\




-----------------------------

Mr. M

การเลือกรถมือสองตอน1      การเลือกรถ Used car ตอน2


      หมายเหตุ :   บางทีอาจดูเหมือนข้ดความรู้สึกบางท่าน เพราะเอาไปเทียบกับมอเตอร์ไซด์และหนังฮอลลีวู้ด  ถ้าเป็นพวกมอเตอร์ไซด์นั้น ท้ายปัด จะคุมง่ายกว่าหน้าดื้อ  แต่ถ้าเป็นรถยนต์4ล้อ ถ้ามาด้วยความเร็ว แล้วคุณไม่ได้มีทักษะการขับแบบสตันท์มืออาชีพ  คนทั่วไปจะแก้อาการ หน้าดื้อ ได้ดีกว่า ท้ายปัด เพราะเมื่อท้ายปัด คนมักจะคืนพวงมาลัยในทิศตรงข้าม มากกว่าปกติ เพราะตกใจ นั่นก็ยิ่งทำให้รถส่ายไปส่ายมา ถ้าเป็นกระบะก็พลิกคว่ำลงร่องกลางถนนไปเลย

      ฉะนั้นขอยืนยัน ฟันธง เลยว่า Over steering (แบบไม่ตั้งใจ)ในยานพาหนะ 4 ล้อ อันตรายกว่า  Under steering สำหรับคนปกติ แต่ถ้านักขับทักษะสูง อาจจะคุมได้ทั้งสองแบบ   

    นี่เจอคลิป ยืนยัน ดูเลย

 

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

ใหญ่กว่า ได้เปรียบ

     ขนาด ใครว่าไม่สำคัญ

     เคยสังเกตุกันมั้ยครับ ว่ารถสมัยนี้ รุ่นใหม่ๆ ออกมา ล้อและยางมักจะแข่งกันใหญ่เดิม ฉันใหญ่กว่าเดิมนะ ฉันใหญ่กว่าคู่แข่งนะ เป็นจิตวิทยาการตลาดที่ว่า คนเรานั้นชอบของใหญ่กว่าเดิม หรือ?  ม่ายช้ายย แต่ที่จริงมันก็สวยกว่านั่นแหละ

 ล้อสมัยนี้ต้อง 18 - 20 นิ้ว

      เอาเป็นว่า เล่าเรื่องเหตุผลทางเทคนิคล้วนๆ แล้วกันนะครับ  เรื่องความสวยหรือเรื่องการตลาดไม่พูดดีกว่า   ที่เขาแข่งกันใหญ่เพราะว่า มันเป็นการได้เปรียบเชิงกลมากกว่าล้อเล็กกว่า  เป็นการทำให้รถเกาะถนนมากขึ้น เป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องไปทำเทคนิค ช่วงล่างให้เปลืองต้นทุน แต่อย่างใด


สมัยก่อน ล้อ 16-17 ก็ถือว่าใหญ่แล้ว

     ผมจะอธิบายให้  เห็นภาพ แม้ผู้ที่ไม่ชอบเรื่องรถยนต์ ก็ต้องร้อง อ๋อ เลย  …… จะได้ไม่ต้องมาเถียงกัน , สงสัยกัน  (ที่เขาบ่น ก็เพราะ รถคันเก่าเปลี่ยนยาง ไม่เกินหมื่น  ออกรถใหม่สมัยนี้เปลี่ยนยางเกือบสองหมื่น  รถยุโรปนะ)

      สมมุติว่า ล้อรถ กำลังวิ่งไปด้วยความเร็วสูงทางตรง และสมมุติว่า กำลังเลี้ยวโค้งทำให้มีแรงผลักด้านข้าง  ไม่ว่าล้อใหญ่หรือเล็กนั้น จะมีขีดจำกัดเหมือนกัน  อย่างเช่น เมื่อเลี้ยวองศาเท่ากัน ในความเร็วเท่ากัน  ทั้งใหญ่และเล็กหาก ล้อหมุนเกิน 3000 รอบต่อนาที (ตัวเลขสมมุตินะ) ก็จะหลุดโค้ง เหมือนกัน 

      แต่ที่ความเร็วเท่ากัน นั้น  ล้อใหญ่ จะหมุนรอบน้อยกว่า ล้อเล็กจะหมุนจี๋เลย  โอกาสถึง รอบขีดจำกัดนั้น ล้อเล็กจะถึงเร็วกว่า   ลอง เอาเหรียญบาทมากลิ้งไถๆ เทียบกับ ล้อจักรยานดูซิ  จักรยานล้อใหญ่ถีบเล่นเอื่อยๆ  แต่เหรียญบาทหมุนจี๋เลย กว่าจะได้ความเร็วเท่ากัน

     ที่จริงนั้น มันมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายในการเกาะถนน  ทั้ง เทคนิคช่วงล่าง  น้ำหนักรถ  ดอกยาง  ความกว้างของหน้ายาง  ช่วงกว้างของล้อซ้ายขวา และ ความยาวฐานล้อหน้าและหลัง อีกมากมายจริงๆ

     แต่ผมยกเรื่องความได้เปรียบเชิงกล  ของของใหญ่และ ของเล็ก  โดยตัดปัจจัยอื่นๆ ไป  เพื่อให้ดูเห็นภาพง่ายขึ้น 

     อย่างเถียงกันๆๆ  ฟันธง ใหญ่กว่าได้เปรียบ  และที่จริง ใหญ่กว่าก็สวยกว่า อีกด้วย  ตอนหน้าเขียนเรื่อง แล้วล้อกว้าง (หน้า) ล่ะ อันไหนมีผลมากว่ากัน


-------------------

ทำไมคนรวยสาย VI ชอบรถมือสอง

          รถตลาดขนาดกลางรุ่นล่าสุดจากญี่ปุ่น เช่น  Accord ,Camry หรือ Teana นั้น  ดูให้ความภูมิฐานและสมรรถนะ ที่ดูดีขั้นมาอีกระดับเมื่อเทียบกับ คอมแพคซีดาน ทั่วไป   ราคาเริ่มแรกของกลุ่มนี้นั้น อยู่ราวๆ ล้านต้นๆ  ถึง เกือบ 2 ล้านบาท บางรุ่น ก็เลยหลัก 2 ล้านขึ้นมา  คุณรู้มั้ยว่า เมื่อผ่านไปประมาณ สองปี มูลค่าที่ซื้อขายกันในตลาดจะอยู่ที่เท่าไหร่    และเมื่อผ่านไปสี่ปี มูลค่าจะเหลืออยู่เท่าใด




       อย่างเช่นเบนซ์ C Class W 204 สภาพดี  ราคาลดลงจนคุ้มค่าการลงทุนทีเดียว  สมมุติซื้อ C class W 204  มือสอง ปี 13  กับซื้อ แอคคอร์ดใหม่เอียมราคาพอกัน อาจจะราวๆ ไม่เกิน 1.3-1.5 ล้านบาท ซักปีหรือสองปีผ่านไป แอคคอร์ดอาจมีมูลค่าร่วงต่ำกว่าอีก  




       ส่วนใหญ่รถใหม่ ใช้ 2-4 ปีราคาร่วงเร็วกว่า รถมือสองที่ซื้อมาแล้วใช้ไปอีก 2-3 ปี  (แต่ก็ไม่ทุกคันทุกยี่ห้อนะ)
                           
      และที่แท้ทรูอีกอันนึงก็คือ รถสมัยนี้ใช้ได้ดีเกิน 10 ปีเลยทีเดียว หากดูแลดีๆ  แต่ตรงนี้ เราพูดกันเรื่องของการซื้อใช้งานและมีคุ้มค่าในการลงทุนแฝงอยู่ด้วย 

       ซึ่งหลักเกณฑ์ง่ายๆ  ก็มีอยู่ว่า “ ซื้อรถยี่ห้อและรุ่นดีๆ  ในสภาพดีๆ  ในราคาประมาณ 70 %  ของรถใหม่  ใช้ ซักพักเมื่อขายต่อ ราคาก็ไม่น้อยกว่าราคาตอนที่ซื้อมือสองมาซักเท่าไหร่” แต่ได้ภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับธุรกิจหรือสถานภาพทางสังคม   และเมื่อถึงเวลาที่ฐานะทางการเงินพร้อม  จนไม่ต้องมาคิดเรื่องเหตุผลกันอีกต่อไป  ถึงตอนนั้นคุณก็ซื้อรถที่คุณอยากซื้อ  และ เมื่อเบื่อ ก็ขายออกไป ให้คนที่ต้องการรถคุณอีก เป็นวัฎจักรกันต่อไป                            



        ถึงตอนนี้เห็นมั้ยครับว่า ในท้องตลาดนั้น ยังมีรถสมรรถนะและภาพลักษณ์ดีๆ ไว้ให้คุณช็อปได้อีกมากมาย เนื่องจาก มีคนปล่อยออกมา เพราะว่ารถที่เริ่มเก่าหรือไม่ใช่รุ่นล่าสุด บางครั้ง ไม่เหมาะสมกับบารมีที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของ  ไม่เหมาะสมกับภาพลักษณ์ หรือขนาดธุรกิจที่ใหญ่โตขึ้น  

        ยังมีอีกประเภทนึง ที่ ขายออกมาเพราะมูลค่าของรถนั้น สูงกว่าฐานะที่แท้จริงของเจ้าของมากเกินไป (เป็นภาระ)  จนทำให้ต้องตัดใจขายก็มี ไม่ใช่แค่ รถอุบัติเหตุ ชนแล้วขาย หรือ เป็นรถมีปัญหา ไปซะทั้งหมด                                  

       ตรงนี้ขอให้เข้าใจตรงกันก่อนว่าการลงทุนสำหรับเรื่องนี้ไม่ได้หมายถึงการทำให้เม็ดเงินมีมูลค่าเพิ่มขึ้น     "แต่เป็นการลงทุนในภาพลักษณ์  ในอุปกรณ์บางอย่างที่เอาไว้ทำเงิน โดยประโยชน์ที่ได้รับ คุ้มค่ากว่า ค่าเสื่อมที่ลดลงของรถคันนั้น  " 

       แล้วแต่จะมองในมุมไหน มุมมองนักลงทุนหรือมุมมองนักบัญชี                                                       

ซื้อขับเล่น รักษาดี 30ปีผ่านไป เป็นมรดกได้เลย


        รถที่กล่าวมานี้น่าสนใจหรือเปล่าละครับ ถ้าคุณสนใจ  แต่ปัญหาต่อไปก็คือว่า จะทำอย่างไรคุณถึงจะเจอรถเหล่านั้น  ?   และ เมื่อพบกันแล้ว จะแน่ใจได้อย่างไรว่า เป็นรถสภาพดีจริงๆ ไม่ชนหนัก  ไม่ผิดกฏหมาย และ ไม่ใช่รถมีปัญหาที่แก้ไม่ตก ?    ไว้จะมาเล่าให้ฟังอีกครับ


---------------

บางที กว้างกว่า ก็ได้เปรียบ

      ยางหน้ากว้างๆ   อาจทำให้การเกาะถนนในทางโค้งดีขึ้นกว่ายางหน้าแคบ  และ อาจทำให้ระยะเบรคสั้นลง ก็ได้  หากเราทดลองใช้รถคันเดิม เปลี่ยนยางหน้ากว้างและแคบ  แล้ววัดผล  ก็จะเห็นว่า ยางกว้างกว่าหยุดดีกว่า  เนื่องจากได้เปรียบกว่าจากขนาดของพื้นที่ของยางที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับน้ำหนักรถ

     แต่มีข้อแม้ว่า ระบบเบรคและช่วงล่าง ต้องสมบูรณ์ด้วยนะครับ  หากเปลี่ยนแต่ล้อและยาง แล้วระบบเบรคแบบไม่ดีๆ ก็ไม่ทำให้หยุดดีขั้นได้  


       ลองเปรียบเทียบให้เห็นภาพแบบสุดโต่งเลย จะได้จินตนาการและเข้าใจได้ชัดๆ  .....เอาเป็น สมมุติว่า เครื่องบิน โบอิ้ง กำลังแลนดิ้งลงสู่พื้น ด้วยความเร็วประมาณ 250  km /hr และ ณ. จุดที่เครื่องบินแตะพื้น มีรถสปอร์ต คันหนึ่ง อยู่ใน รันเวย์ข้างๆ กัน กำลัง เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ประมาณ 250 km/hr เท่ากัน

      ให้ทั้งสองเบรคเต็มที่จน ABS ทำงาน และควันขึ้น  คุณว่าคันไหนจะหยุดก่อนกัน  (เครื่องบินเขามี ABS ล้ำหน้ารถยนต์มาก) 


      แม้ว่าล้อและยางเครื่องบินจะใหญ่กว่าล้อรถยนต์มากๆๆ  แต่สัดส่วนของน้ำหนักของเครื่องบินต่อล้อและยางมันมากกว่าสัดส่วนระหว่างล้อรถกับน้ำหนักรถ  ก็เลยทำให้กว่าจะหยุดได้ต้องใช้ระยะเวลานานใช้ระยะทาง Landing หลายร้อยเมตร 

      และถ้าดูด้วยสายตา ล้อและยางเครื่องบิน มีขนาดนิดเดียวเมื่อเทียบกับขนาดมัน  สรุปก็คือ  ขนาดพื้นที่สัมผัสถนน ยิ่งมาก เมื่อเทียบกับ น้ำหนักพาหนะ  ก็จะยิ่งเกาะถนนและประสิทธิภาพเบรคดีขึ้นครับ  


       -------------------------------------